STG-Chemical & Paints-Strip-Head

เทรนด์สินค้าอีพ็อกซี่เรซิ่น ความต้องการ Semi-Conductor พุ่ง เอื้อโอกาสสร้างโรงงานใหม่

แนวโน้มความต้องการอีพ็อกซี่เรซิ่นสำหรับผลิตเป็นวัสดุเคลือบเซมิคอนดัคเตอร์และแผ่นกระดานเคลือบยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเซมิคอนดัคเตอร์ที่มีความก้าวหน้าในการผลิตชิ้นงานที่มีขนาดเล็กลงและ IoT นั้น ก่อให้เกิดความต้องการอีพ็อกซี่เรซิ่นเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนได้กระตุ้นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเซมิคอนดัคเตอร์ โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถตั้งโรงงานภายใต้ความร่วมมือของ SMIC และ Fujian Jinhua Integrated Circuit ภายในปี 2018 ผู้เกี่ยวข้องมองว่า “นี่เป็นโอกาสอันดีที่จะส่งเสริมการทำธุรกิจกับผู้ผลิตจีน นอกเหนือจากบริษัทในชาติอื่น ๆ เช่น อินเทลของสหรัฐฯ ซัมซุงของเกาหลีใต้ และ TSMC ของไต้หวัน”

สำหรับความสำคัญของอีพ็อกซี่เรซิ่นนั้น นับว่าเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงมากจากการนำไปใช้ในเซมิคอนดัคเตอร์ของสมาร์ทโฟน และชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าในยานยนต์ ซึ่งในตลาดจีน เกาหลีใต้ และไต้หวันมีการแข่งขันที่รุนแรง และบริษัทต่าง ๆ ก็มีกลยุทธ์ในการตอบสนองต่อความต้องการของตลาดเพื่อหาจุดยืนให้กับตน

ท่ามกลางการทะยานตัวของราคาน้ำมันดิบ ทำให้เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายนที่ผ่านมามีการขึ้นราคาของอีพ็อกซี่เรซิ่นหลังจากที่หยุดนิ่งมา 4 ปี ทางผู้รับผิดชอบของผู้ผลิตรายใหญ่ได้เปิดเผยว่า “ได้รับความเข้าใจจากทางลูกค้า และราคาใหม่นี้ก็ได้รับการพิจารณาและยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ

ในส่วนงานวิศวกรรมโยธานั้น การฟื้นฟูเมืองหลวงกรุงโตเกียวเพื่อรองรับโตเกียวโอลิมปิคและพาราลิมปิคนั้นก็เป็นดั่งเชื้อไฟที่ดี ประกอบกับแนวโน้มการเติบโตของโครงสร้างพื้นฐานในประเทศกำลังพัฒนา ส่งผลให้คาดการณ์ได้ว่าจะมีการเติบโตอีก 3% แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการจะเข้าร่วมการแข่งขันในภาคสินค้าทั่วไป ทั้งในด้านกำลังผลิตและราคากับบริษัทต่างๆ นั้นยังเป็นไปในทางลบอยู่ ต่อให้มีโครงสร้างพื้นฐานเหมือนกัน “ความต้องการก็จะมุ่งไปยังสินค้าคุณภาพเสมอ แม้จะเป็นแค่งานซ่อมบำรุงก็ตาม

หากอ้างอิงจากสถิติการผลิตโดยกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (ข้อมูลทุติยภูมิ) แล้ว จะพบว่าปริมาณการผลิตในเดือนกรกฎาคมลดลง 5% หรือ 10,341 ตันหลังจากไม่ตกลงมา 2 เดือน ส่วนปริมาณการขายในเดือนเดียวกันนั้นลดลง 9.1% คิดเป็น 9,985 ตัน ส่วนมูลค่าการขายนั้น ลดลง 9.2% คิดเป็นมูลค่าถึง 4,724,104,000 เยน และมีจำนวนคงเหลือถึง 3.3% หรือ 16,768 ตัน

อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคม (ข้อมูลปฐมภูมิ) ปริมาณการผลิตลดลง 5.5% หรือ 9,777 ตัน ปริมาณการขายมากขึ้น 8.8% หรือ 10,868 ตัน และจำนวนคงเหลือลดลง 0.6% หรือ 16,701 ตัน

ที่มา : Nikkan Kogyo Shimbun

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 12:47
รสริน พัชรโยธิน

Author : ขาลุย นักข่าวภาคสนาม เกาะติดข่าวสารด้าน Manufacturing ทั้งอุสาหกรรมเหล็ก ซีเมนต์ สี เคมีภัณฑ์ กระดาษ พลาสติก แร่และโลหะ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องจักร และการก่อสร้างต่างๆ

Related items

Tweet Feed

Post Gallery

"เทระวัตต์ เอนเนอร์จี" ผนึก 4 พันธมิตรชูบริการ "ONE STOP SERVICE" จากแบรนด์ชั้นนำระดับโลก เปิดตัว ‘SigenStor’ All-in-One โซลูชันระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์พร้อมแบตเตอรี่ และ AI อัจฉริยะ เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจาก SIGENERGY ครั้งแรกในประเทศไทย

อร่อยกับ “มาม่า” แล้วไปสนุกจัดเต็มกับคอนเสิร์ตออร์เคสตราสุดยิ่งใหญ่  “Bodyslam Power of The B-Side Concert ความฝันกับจักรวาล”

แกร็บ ผนึก กทม. หนุนนโยบายสร้างเมืองปลอดภัย  ดึง บุ๋ม ปนัดดา ปลุกพลังคนขับป้องกันภัยคุกคามทางเพศ

กลุ่มธุรกิจ TCP ผสานพลัง บีไอจี นำไนโตรเจนคาร์บอนต่ำใช้ในกระบวนการผลิตมุ่งสู่ Net Zero

finbiz by ttb แนะธุรกิจ SME นำ AI เทคโนโลยีอัจฉริยะ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

เผยความต้องการซื้อรถยนต์มือสองตลาดภูมิภาคมีแนวโน้มเติบโต AUCT จับมือไฟแนนซ์เปิดประมูลขายทั่วประเทศไม่มีวันหยุด

N Health Novogene จับมือ ศิริราชพยาบาล และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ เท็นกุ (Xcoo) บริษัทจากประเทศญี่ปุ่น พัฒนาแพลตฟอร์มแปลผลการกลายพันธุ์ของยีนมะเร็ง โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และข้อมูลจากโครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย

โฟร์ ฟูดส์ เปิดบ้านนำทีมเสือร้องไห้ บุกโรงงานผลิตผงปรุงรสแบบใกล้ชิดทุกขั้นตอนการผลิต

“แอลเลอร์แกน เอสเธติกส์” ฉลองความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่  ยกระดับมาตรฐานจริยธรรมในวงการความงามไทยให้เติบโตอย่างยั่นยืน  พร้อมเปิดตัว ฮาร์โมนิก้า เทรนด์ความงามล่าสุดบุกตลาดอัปผิวแน่

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM